タイ語の書き取りで意識すること

 通訳の訓練の一環としてまたNHKラジオ日本を使うことにしよう。ひとまず、タイ語のニュースを聞いてそれを書き取るという訓練をしようと思うが、一回目は途中で聞き直しをせずに書き取りを行うことを意識し、二回目に聞く時にどの部分を聞き逃した(あるいは聞き間違えた)のかをチェックする。また、書き取りとは言っても当然途中で音を止めながら書くわけだが、今の段階では一度に聞いて書けるのはおそらく5秒ぐらいが限度だと思うので、この時間を少しずつ伸ばしていくことも意識したい。

 というわけで、まずは5月17日のNHKラジオ日本の書き取りである。


<5月17日分の音声>
Download
(注:上記音声は1週間後ぐらいにはダウンロードできなくなります)


(5:13〜8:33)
ต่อไปเป็นช่วงเจาะประเด็นวันนี้ค่ะ
คุณผู้ฟังค่ะ
คณะทำงานของรัฐบาลญี่ปุ่น
ที่กำลังกำหนดแนวทางการจ่ายเงินค่าชดใช้
ที่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุที่โรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ Fukushima Daiichi ของ TEPCO
ได้จัดการประชุมเมื่อวันจันทร์ที่ 16 พฤษภาคม
คณะทำงานชุดนี้ได้เริ่มหารือกัน
ถึงการจัดทำแนวทาง
เกี่ยวกับว่า
ความเสียหายทางเศรษฐกิจจากข่าวลือและ
ความทุกข์ทรมานทางจิตใจของผู้อพยพหนีภัย
ควรได้รับการชดใช้แค่ไหน
ในการประชุมคณะทำงาน
ได้รับรายงานเกี่ยวกับความเสียหาย
อันเป็นผลจากอุบัติเหตุทางนิวเคลียร์ที่เกิดขึ้น
ช่วงเจาะประเด็นวันนี้
เราจะได้ฟังคำอธิบายเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ
ที่เกี่ยวข้องกับการจ่ายค่าชดใช้ให้กับความเสียหายที่เกิดจากข่าวลือ
จากศาสตราจารย์ Jun Matsuda
จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยจูโอ
ซึ่งมีประสบการณ์จากการเป็นสมาชิก
ของคณะวิจัยความเสียหาย
ในอุบัติเหตุทางนิวเคลียร์ครั้งนึงที่เคยเกิดขึ้นในญี่ปุ่นค่ะ

อาจารย์ Matsuda ได้ยกตัวอย่างว่า
ยอดขาดลดลงแม้แต่ในสินค้าที่ไม่ได้ปนเปื้อนกัมมันตรังสี
เพียงเพราะสินค้าเหล่านี้ผลิตในพื้นที่เดียวกับสินค้าอื่น
ที่ตรวจพบการปนเปื้อนในระดับที่เกินมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด
ความหวาดกลัวของคนทั่วไปเกี่ยวกับสารกัมมันตรังสี
ก่อให้เกิดสถานการณ์เช่นที่ว่านี้ขึ้นค่ะ
เมื่อเกิดความเสียหายจากข่าวลือขึ้น
เรื่องนี้ย่อมกระทบต่อการค้าระหว่างประเทศด้วย
และผลกระทบก็จะแผ่ลามออกไป
ในหลายลักษณะและหลายอุตสาหกรรม
ลูกค้าต้องการให้มีค่าธรรมเนียม
สำหรับการตรวจสอบรังสีในสินค้า
หรือบางกรณีการค้าขายต้องสะดุดลง
แต่เป็นเรื่องยากที่จะยอมรับการจ่ายค่าชดใช้
สำหรับจำนวนเงินที่เกี่ยวข้องทั้งหมด
ดังนั้นอาจารย์ Matsuda จึงคิดว่า
จะต้องเชื่อมโยงความเกี่ยวข้องของสาเหตุกับผลลัพท์
ในจุดใดจุดนึง
เมื่อดำเนินการแล้วประเด็นต่อไป คือ
จะสามารถโน้มน้าวทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
ให้ยอมรับได้แค่ไหน
นอนจากความเสียหายจากข่าวลือแล้ว
คณะทำงานยังกำลังหารือการจ่ายค่าชดใช้
สำหรับความทุกข์ทรมารทางจิตใจของคนที่ต้องอพยพ
อันเนื่องมาจากอุบัติเหตุทางนิวเคลียร์
คณะทำงานได้ตัดสินใจว่า
ความเสียหายในส่วนนี้มีหลายระดับ
ตามแต่สถานที่ที่แตกต่างกันไป
ที่คนเหล่านี้ได้ไปพักพิง
คณะทำงานได้เสนอแผนการฉบับร่าง
เพื่อจัดแบ่งที่พักพิงออกเป็นกลุ่ม
สำหรับการจ่ายเงินบางส่วน
ตามระดับความทุกข์ทรมารทางจิตใจ
แผนการนี้ชี้ว่า
ศูนย์อพยพหนีภัย อย่างเช่น โรงพละ
ขาดสภาพแวดล้อมที่เป็นส่วนตัวในการดำเนินชีวิต
จากลักษณะเช่นนี้ ผู้พักพิงตามศูนย์อพยพเหล่านี้
จึงได้รับความทุกข์ทรมารทางจิตใจมากที่สุด
คณะทำงานของรัฐบาลจะจัดทำสำรวจ
ในรายละเอียด
และจะทำกรอบการทำงานให้แล้วเสร็จ
ภายในเดือนกรกฎาคมนี้ค่ะ
เวลานี้คณะทำงานกำลังดำเนินการ
เพื่อเสนอหามาตรการทั่วๆ ไป
ในการจ่ายค่าชดใช้ให้กับแต่ละคนนั้น
จำเป็นจะต้องศึกษาความเสียหาย
ตามสถานการณ์ของแต่ละคน
การคิดคำนวณความเสียหายเฉพาะเจาะจงสำหรับคนจำนวนมาก
เป็นกรณีที่ญี่ปุ่นไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อน
ดังนั้นอาจารย์ Matsuda จึงคิดว่า
เรื่องนี้เป็นงานที่ยากลำบากอย่างยิ่ง
และทั้งหมดนี้ คือ ช่วงเจาะประเด็นวันนี้ค่ะ