NHKラジオ日本5月5日分:世界金融危機がアセアンにもたらす悪影響に

 本日のディクテーション箇所は6分48秒〜12分16秒である。


5月5日分の音声: Download


 「タイ語翻訳が生業」とか謳ってるぐらいだから、いくらなんでも営業活動の一環としてタイ語ブログランキングに参加中ランキングではさすがに・・・だよねチミ?


[タイ語翻訳] ブログ村キーワード

(6分48秒〜9分57秒)
ช่วงเจาะประเด็นวันนี้เราจะไปติดตามเรื่องของวิกฤตการเงินที่ส่งผลกระทบทางลบต่อเศรษฐกิจทั่วโลกเป็นตอนที่สองนะค่ะ โดยเราจะรายงานให้ทราบว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้างในส่วนต่างๆ ของโลกและมีการดำเนินการอะไรเพื่อแก้ไขปัญหากันไปแล้วบ้าง สำหรับวันนี้เราจะไปฟังการวิเคราะห์เกี่ยวกับเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้จากผู้เชี่ยวชาญหลายๆ ท่านค่ะ อันดับแรกเราจะไปฟังความเห็นของศาสตราจารย์ Yuji Suzuki จากมหาวิทยาลัย Hosei ว่าภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการเงินครั้งนี้อย่างไรบ้างค่ะ (日本語部分:7分25秒〜7分29秒) ศาสตราจารย์ Suzuki บอกว่าวิกฤตการเงินในครั้งนี้ดูเหมือนจะไม่ส่งผลกระทบต่อเอเซียตะวันออกเฉียงใต้แบบเดียวกับเมื่อเกิดวิกฤตเงินตราในช่วงปลายทศวรรษ ๑๙๙๐ ซึ่งครั้งนั้นทำให้เกิดความปั่นป่วนทางการเมืองด้วยค่ะ ประเทศส่วนใหญ่ในสมาคมประชาชาติแห่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียนนั้นแม้จะมีอุตสาหกรรมที่พึ่งพาการส่งออกเป็นส่วนใหญ่แต่ก็ได้รับบทเรียนไปจากวิกฤตครั้งแรก จึงทำให้ปัจจุบันการค้ากับชาติอื่นๆ ภายในอาเซียนด้วยกันเองนั้นมีมูลค่ามากกว่าหนึ่งในสี่ของมูลค่าการค้าต่างประเทศของอาเซียนทั้งหมด ซึ่งหมายความว่าอาเซียนไม่ได้รับความเสียหายมากเท่ากับในอดีต อย่างไรก็ตามอาเซียนโดยรวมนั้นยังต้องพึ่งพาระบบเศรษฐกิจระหว่างประเทศเป็นอย่างมากค่ะ โดยอันที่จริงแล้วอาเซียนอาศัยสหรัฐและยุโรปในการกู้ยืมถึงร้อยละเจ็ดสิบ ดังนั้นภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวจึงเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ส่วนเรื่องของสถานการณ์เศรษฐกิจในประเทศไทยซึ่งดูเหมือนว่าจะได้รับผลกระทบอย่างหนักจากวิกฤตการเงินนั้นเราจะไปฟังความเห็นจากศาสตราจารย์ Shigeki Higashi จากมหาวิทยาลัย Nanseigakuin ซึ่งได้ศึกษาเรื่องของเศรษฐกิจไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของอุตสาหกรรมยานยนต์กันค่ะ (日本語部分:8分47秒〜8分53秒) ศาสตราจารย์ Higashi บอกว่าการส่งออกนั้นคิดเป็นมูลค่าถึงร้อยละเจ็ดสิบของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศหรือจีดีพีของไทยทีเดียว แต่ยอดการส่งออกได้ตกลงอย่างมากในช่วงครึ่งหลังของปีที่แล้วทำให้เศรษฐกิจเกิดการหดตัวร้อยละสี่จุดสามในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีที่ผ่านมา สินค้าพวกเครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ รถยนต์และสิ่งทอเป็นอุตสาหกรรมส่งออกที่ได้รับความเสียหายมากที่สุด โรงงานบางแห่งจำต้องระงับการผลิตและมีคนต้องตกงานทั้งหมดสามแสนห้าหมื่นคนในช่วงหกเดือนนับถึงเดือนมินาคมที่ผ่านมา นอกจากนี้เศรษฐกิจก็ยังได้รับผลกระทบอย่างมากจากความวุ่นวายทางการเมืองซึ่งทำให้เกิดความกังวลในหมู่ผู้บริโภคและความไม่แน่นอนของภาวะการในอนาคตพอสมควรค่ะ ด้านรัฐบาลไทยได้ออกชุดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่าหนึ่งแสนล้านบาทซึ่งกำลังดำเนินการอยู่พร้อมกับการลดภาษีด้วย แต่อย่างไรก็ตามมาตรการเหล่านี้น่าจะยังไม่ทำให้เกิดผลได้จริงจนกว่าจะถึงสิ้นปีนี้ค่ะ

(9分58秒〜11分17秒)
เราลงมาดูที่เวียดนามกันบ้างนะค่ะ เวียดนามเป็นประเทศหนึ่งซึ่งยังไม่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากวิกฤตการเงินแต่การเติบโตทางเศรษฐกจิอย่างรวดเร็วในช่วงไม่กี่ปีมานี้เป็นการขับเคลื่อนโดยการลงทุนจากต่างประเทศ ดังนั้นในระยะกลางและระยะยาวปัญหาของประเทศอุตสาหกรรมต่างๆ น่าจะต้องส่งผลกระทบต่อเวียดนามพอสมควร โดยเราจะไปฟังความเห็นในเรื่องนี้จากคุณจัน ซวน ซาอดีตรัฐมนตรีด้านการวางแผนและการลงทุนของเวียดนามซึ่งปัจจุบันเป็นคณะกรรมการบริหารของธนาคารเอเซียคอมเมอร์เชียลแบงก์ของเวียดนามค่ะ (ベトナム語部分:10分35秒〜10分40秒) คุณจันเห็นว่าผลกระทบจากวิกฤตการเงินโลกต่อเศรษฐกิจเวียดนามนั้นมีมากทีเดียวโดยอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในไตรมาสแรกของปีนี้มากกว่าร้อยละสามเพียงเล็กน้อยเท่านั้นซึ่งเป็นตัวเลขที่แยกที่สุดในรอบหลายปี อย่างไรก็ตามเป้าหมายการเติบโตของจีดีพีเวียดนามในปี ๒๕๕๒ ซึ่งอยู่ที่ราวร้อยละห้านั้นมีความเป็นไปได้แม้ว่าจนถึงขณะนี้จะยังคงมีปัจจัยที่ไม่สามารถคาดเดาได้หลายตัวจากทั้งในประเทศและจากต่างประเทส แต่คุณจันก็ยังเชื่อว่าเวียดนามสามารถไปถึงเป้าหมายนี้ได้ค่ะ

(11分18秒〜12分16秒)
คุณผู้ฟังค่ะ มาถึงคำถามสุดท้ายที่ว่าแล้วภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ควรจะดำเนินมาตรการร่วมกันอย่างไรกับวิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้ ศาสตราจารย์ Suzuki จากมหาวิทยาลัย Hosei ได้ให้คำตอบค่ะว่าประการแรกมีความจำเป็นจะต้องพึ่งอุปสงค์ภายในประเทศและเพิ่มความร่วมมือภายในภูมิภาคให้มากขึ้นซึ่งนั่นก็เป็นบทเรียนจากวิกฤตช่วงทศวรรษ ๑๙๙๐ และศาสตราจารย์ Suzuki คิดว่าเป็นมาตรการรองรับที่ค่อนข้างมีประสิทธิภาพในครั้งนี้ ส่วนประการที่สองก็คือแต่ก่อนนั้นเศรษฐกิจของอาเซียนเฟื่องฟูขึ้นมาได้ก็เพราะยุโรปสหรัฐ และญี่ปุ่น ศาสตราจารย์ Suzuki จึงเห็นว่าขณะนี้จีนกำลังขึ้นมาเป็นคู่ค้าใหม่โดยความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างจีนและอาเซียนกำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและจีนนั้นก็เป็นตลาดส่งออกของอาเซียนที่มีขนาดใหญ่กว่าญี่ปุ่นไปแล้ว ดังนั้นการกระชับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจให้มากขึ้นกับจีนจะมีความสำคัญอย่างมากในการช่วยให้อาเซียนผ่านวิกฤตนี้ไปได้ค่ะ