6月10日分NHKラジオ日本×通訳トレ

 実際の通訳の仕事でこういうニュースを日本語にすることはまずないので、例えば、こういうタイ語のニュースが流れた時に、タイ語が分からない日本人に対して、このニュースの内容は大体こんな感じですよと説明するというイメージを持ってトレーニングするといいかもしれない。
 もちろん実際には、こんな情報てんこ盛りのニュースを3分半も連続して聞いて、その内容を大まかにでも説明するのは至難の業なのだが。


6月10日分の音声: Download
(注:上記音声は1週間後ぐらいにはダウンロードできなくなります)


(6:08〜9:42)
เรดิโอเจแปนขอต้อนรับคุณผู้ฟังเข้าสู่ช่วงเจาะประเด็นวันนี้ครับ
คุณผู้ฟังครับ
วันเสาร์ที่ 11 มิถุนายนนี้จะครบ 3 เดือนพอดีหลังจากเกิดเหตุภัยพิบัติแผ่นดินไหวครั้งใหญ่และคลื่นยักษ์สึนามิ 11 มีนาคมครับ
เมืองมินามิโซมะในจังหวัดฟุกุชิมาอยู่ในพื้นที่ที่รัฐบาลญี่ปุ่นกำหนดให้เป็นเขตห้ามเข้า คือ 20 กิโลเมตรรอบโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ Fukushima Daiichi ที่เป็นปัญหาและพื้นที่ในเขตอบยพนอกรัศมี 20 กิโลเมตรดังกล่าวด้วย
คณะแพทย์จากโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนางาซากิได้ไปเยี่ยมเยียนสถานที่พักพิงขชั่วคราวในเมืองมินามิโซมะและพื้นที่ใกล้เคียง
ภายหลังภัยพิบัติ 3 ชั้น ซึ่งได้แก่ แผ่นดินไหว สึนามิและอุบัติเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ครับ
ในช่วงเจาะประเด็นวันนี้เราจะนำเสนอคำบอกเล่าของคุณ Hirohisa Kinoshita อาจารย์ประจำแผนกจิตเวชประสาทวิทยาโรงพยาบาลหมาวิทยาลัยนางาซากิ
โดยจะเป็นการพูดคุยเกี่ยวกับชีวิตที่ศูนย์พักพิงชั่วคราวของผู้รอดชีวิตที่ยืดเยื้อยาวนานและปัญหาคั่งค้างต่างๆ ครับ
คุณ Kinoshita กล่าวว่า
เนื่องจากขณะนี้ผ่านมาเกือบ 3 เดือนแล้วนับตั้งแต่เกิดภัยพิบัติ
เขาได้พบผู้คนที่ไม่ได้ตกอยู่ในห้วงของโศกนาฏกรรมการสูญเสียบ้านเรือนของตนอีกแล้ว
ศูนย์หลบภัยที่คุณ Kinoshita ไปเยี่ยมเยียนมานั้นส่วนใหญ่เป็นที่พักพิงของผู้สูงอายุไม่มีเด็ก
เนื่องจากเกรงกันว่าอาจมีอันตรายจากกัมมันตภาพรังสีครับ
หลายคนขอให้ญาติที่อยู่นอกจังหวัดฟุกุชิมาช่วยนำลูกของตนไปดูแลให้
หรือไม่ก็ให้ลูกไปอยู่ที่ศูนย์พักพิงนอกจังหวัดฟุกุชิมา
ซึ่งทำให้ต้องแยกจากลูกๆ ของตน
คุณ Kinoshita บอกให้ฟังว่า
บรรดาพ่อแม่ที่มีลูกเล็กๆ โกรธเคืองรัฐบาลและบริษัทพลังไฟฟ้าโตเกียวหรือ TEPCO ผู้ประกอบการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Fukushima Daiichi มากขนาดไหน
และวิตกกังวลเกี่ยวกับอนาคตของพวกตนมากขนาดไหนครับ
เมื่อถามว่าในฐานะนักจิตเวชประสาทวิทยามีอะไรที่รู้สึกวิตกกังวลเกี่ยวกับบรรดาผู้รอดชีวิตหรือไม่
คุณ Kinoshita ตอบว่า
เขาได้เห็นผู้ที่อาศัยอยู่ในศูนย์หลบภัยพูดคุยกับคนข้างๆ ซึ่งอาศัยอยู่ในศูนย์เดียวกัน
แต่สำหรับเจ้าหน้าทของโรงพยาบาลและรัฐบาลที่กำลังให้ความช่วยเหลืออยู่
ซึ่งขณะเดียวกันตัวเองก็เป็นผู้ประสบภัยด้วยนั้น
คุณ Kinoshita คิดว่าพวกเขาเครียดครับ
พวกเขาเก็บความรู้สึกอึดอัดไว้กับตัวเอง
ไม่มีโอกาสได้พูดคุยระบายความรู้สึกออกมา
ดังนั้นจากนี้ไปต้องให้การสนับสนุนด้านจิตใจแก่คนกลุ่มนี้ครับ
คุณ Kinoshita กล่าวอีกว่า
สิ่งที่ประชาชนในพื้นที่ประสบภัยควรตระหนัก
ขณะที่คาดว่าความยากลำบากจะยืดเยื้อออกไปอีกนาน ก็คือ
อันดับแรกสุดเลย คือ ควรติดต่อกับคนที่เคยคบหามีความสัมพันธ์กันมาจนถึงตอนนี้
และรักษาชุมชนทั้งหมดที่ร่วมกันสร้างมาเอาไว้
คุณ Kinoshita กังวลเป็นพิเศษครับว่า
การที่ต้องอยู่ในศูนย์พักพิงชั่วคราวเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดปัญหาต่างๆ
เช่น ความหดหู่ โรคสมองเสื่อมในผู้สูงอายุและติดสุรา
ซึ่งทั้งหมดนี้อาจเป็นเพราะผู้หลบภัยอาจรู้สึกโดดเดี่ยวและไม่สบายใจเกี่ยวกับการดำรงชีวิตครับ
ขณะนี้สาธารณชนกำลังให้ความสนใจพื้นที่ประสบภัย
แต่ความสนใจควรหันเหไปสู่การช่วยเหลือผู้รอดชีวิตนับจากนี้ไป 5 ปี 10 ปีหรือ 15 ปี
จนกว่าชีวิตของผู้ประสบภัยจะกลับคืนสู่สภาพที่เคยมีมาก่อนเกิดภัยพิบัติ
ครับ และทั้งหมดนี้คือช่วงเจาะประเด็นวันนี้
<「核心に迫る」の要点>
‐3.11の大震災と津波が起きてから6/11(土)でちょうど3か月。
福島県南相馬市は、政府が立ち入り禁止区域に定めた福島第一原発から20km圏内に位置するとともに、この20km圏外の避難区域にも位置している。
長崎大学病院の医師団は、地震津波原発事故という3重の災害に見舞われた南相馬市およびその近隣地区の一時避難所を訪れた。
長崎大学病院精神・神経科の木下裕久先生の話を紹介。
‐生存者の長引く一時避難所での生活および未だ解決されていない各種問題についての話。
‐震災発生後3か月が経過したことから、先生は、自分の家を失うという悲劇からすでに立ち直っている人たちを訪れる。
‐木下先生が訪れた避難所の大半は高齢者の避難所で子供はいない。
‐これは放射能による危険を懸念しているからで、多くの人が、福島県外に住む親族に子供の世話を頼んだり、子供を福島県外の避難所に行かせたりしており、子供と離れ離れにならざるを得ない状況。
‐小さな子供のいる親が、政府と福島第一原発の事業者である東京電力にいかに憤りを感じているのか、また、自分たちの将来にどれほどの不安を感じているのかを木下先生は話した。
‐先生は同じ避難所で暮らす人たち同士が話をするのは目にしているが、現在まさに支援にあたっており、同時に自身も被災者である病院や政府の職員については、ストレスがたまっており、閉塞感を押し隠し、こうした感情を口に出して発散する機会がないと見ている。
‐したがって、今後はこういった人たちへの精神面での支援が必要である。
‐大変な状況が長く続くことが予想される中で被災地域の住民が自覚すべきことは、まず第一に、これまでに付き合いのあった人たちと連絡を取るとともに、一緒に作り上げてきた全ての地域を守ることである。
‐木下先生が特に懸念しているのが、一時避難所での生活が長引くことで、精神的な落ち込みや高齢者の認知症、アルコールへの依存といった問題が起こることである。
‐こういったことはすべて、避難住民が孤独を感じたり、生活に不安を感じたりすることが原因で起こりうる。
‐現在、人々の関心は被災地に向かっているが、この関心を生存者の支援へと向けるべきである。
‐こうした支援を5年、10年、15年と被災者の生活が震災前の元の状態に戻るまで続ける必要がある。