NHKラジオ日本4月19日分:日本とアメリカの学生の違い

 何でもいいが、携帯電話の話はどうなった?


4月19日分の音声: Download


 「タイ語翻訳が生業」とか謳ってるぐらいだから、いくらなんでも営業活動の一環としてタイ語ブログランキングに参加中ランキングではさすがに・・・だよねチミ?

[タイ語翻訳] ブログ村キーワード

(8分36秒〜12分01秒)
ต่อไปขอเชิญรับฟังเจาะประเด็นวันนี้ค่ะ เราจะไปคุยกันถึงสภาพการณ์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยในญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกากับศาสตราจารย์ Jiro Hirano จากวิทยาลัยหญิง gakushuin ค่ะ ในฐานะที่ศาตราจารย์ Hirano ได้สอนในระบบมหาวิทยาลัยของญี่ปุ่นมาเป็นเวลาสิบปีแล้ว อาจารย์มีความคิดเห็นต่อนักศึกษาใหม่ที่เริ่มเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยในเดือนเมษายนซึ่งเป็นช่วงเริ่มปีการศึกษาของญี่ปุ่นดังนี้ค่ะ ศาตราจารย์ Hirano กล่าวว่าบรรดานักศึกษาใหม่นั้นดูเหมือนว่าจะเป็นผู้ที่ได้รับการเลี้ยงดูมาอย่างดีทีเดียว อัตราการเกิดที่ลดลงในญี่ปุ่นได้ทำให้เกิดภาวะที่พวกเขาเกือบทั้งหมดเป็นลูกคนเดียวหรือมีพี่น้องร่วมท้องเพียงหนึ่งคนเท่านั้นซึ่งทำให้พวกเขาได้รับการเลี้ยงดูอย่างทะนุถนอมแต่ในขณะเดียวกันก็อาจพูดตรงๆ ในแง่ลบได้ว่าสิ่งนี้พลอยทำให้พวกเขาไม่สู้มีความสามารถในการแข่งกันไปด้วย เมื่อเราลองเปรียบเทียบนักศึกษาญี่ปุ่นกับนักศึกษาในสหรัฐแล้ว ศาตราจารย์ Hirano พบว่าที่สหรัฐนั้นนักศึกษาจะต้องลงเรียนวิชาในสาขาต่างๆ อย่างกว้างขวางในระยะเวลาสี่ปีเต็มของการเรียนระดับปริญญาตรี พวกเขาจะมีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางก็ต่อเมื่อเข้าเป็นนักศึกษาปริญญาโทในบัณฑิตวิทยาลัยเท่านั้น ซึ่งนี่เป็นความแตกต่างอย่างชัดเจนระหว่างปริญญาใบแรกและใบที่สองค่ะ ส่วนวิชาที่นักศึกษาในสหรัฐต้องการลงเรียนมากที่สุดนั้นศาตราจารย์ Hirano เห็นว่าวิทยาการคอมพิวเตอร์เป็นสาขาวิชาที่ได้รับความนิยมอย่างมากที่สุดในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแถบ West Coast ศาตราจารย์ Hirano มีเพื่อนที่ทำงานในนครชิคาโกซึ่งเขามีลูกชายเข้าเรียนด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียวิทยาเขตเบิร์กลี่ย์เมื่อปีที่แล้ว และสิ่งที่น่าประหลาดใจที่สุดก็คือร้อยชะเก้าสิบของคนที่ลงเรียนสาขาวิชานั้นเป็นนักศึกษาต่างชาติค่ะ นักศึกษาต่างชาติกลุ่มนี้ส่วนใหญ่มาจากจีนและอินเดียซึ่งศาตราจารย์ Hirano เห็นว่าพวกเขาตั้งใจอย่างจริงจังที่จะจับกระแสแห่งอนาคตของสังคมให้ทันโดยตัดสินใจเลือกสาขาวิชาเรียนตามแนวโน้มของอนาคตค่ะซึ่งสิ่งนี้ศาตราจารย์ Hirano มองว่าค่อนข้างแตกต่างจากนักศึกษาที่ญี่ปุ่นซึ่งคิดหวังเพียงแต่จะได้งานกับบริษัทที่มีชื่อเสียงโดยไม่สนใจว่าตนเองจะต้องการความรู้ความสามารถเฉพาะทางในด้านใด ศาตราจารย์ Hirano เห็นว่านี่เป็นความแตกต่างอย่างมากข้อหนึ่งระหว่างนักศึกษาในญี่ปุ่นกับนักศึกษาในสหรัฐค่ะ ส่วนสิ่งอื่นๆ ที่ศาตราจารย์ Hirano ได้เห็นระหว่างการไปเยือนสหรัฐว่าเป็นความแตกต่างระหว่างนักศึกษาในสองประเทศก็มีอีกสองอย่างค่ะ ได้แก่ การวิ่งออกกำลังกายและโทรศัพท์มือถือค่ะ ศาตราจารย์ Hirano ได้ไปเยือนบอสตันซึ่งเป็นเมืองมหาวิทยาลัยอย่างแท้จริงเพราะมีมหาวิทยาลัยทั้งขนาดเล็กและใหญ่มากกว่าห้าสิบแห่งและกล่าวว่าสิ่งแรกที่เราจะได้เห็นที่นี่ ก็คือบรรดานักศึกษาพากันวิ่งออกกำลังกายซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ค่อยพบเห็นกันในญี่ปุ่นค่ะ ว่ากันว่านักศึกษาที่เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยของสหรัฐนั้นจะต้องอ่านหนังสืออย่างหนักโดยเฉลี่ยถึงราวสี่ร้อยหน้าต่อวันทีเดียวซึ่งก็หมายถึงว่าการเรียนรู้ในมหาวิทยาลัยของพวกเขาก็คือการต่อสู้กับความอึดของร่างกายนั่นเอง ดังนั้นการวิ่งออกกำลังกายจึงเป็นหนทางหนึ่งที่จะทำให้ได้พลังกายนั้นมาค่ะ และที่จบลงไปนั้นคือเจาะประเด็นวันนี่ค่ะ


(8分36秒〜12分01秒)
ต่อไปขอเชิญรับฟังเจาะประเด็นวันนี้ค่ะ/次は本日の「核心に迫る」をお聞きください
เราจะไปคุยกันถึงสภาพการณ์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยในญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา/日本とアメリカの大学生の実態についてお話をうかがいます
กับศาสตราจารย์ Jiro Hirano จากวิทยาลัยหญิง gakushuin ค่ะ/学習院女子大学の平野次郎教授に
ในฐานะที่ศาตราจารย์ Hirano ได้สอนในระบบมหาวิทยาลัยของญี่ปุ่นมาเป็นเวลาสิบปีแล้ว/日本の大学機関で10年間にわたり指導する立場から
อาจารย์มีความคิดเห็นต่อนักศึกษาใหม่/平野教授は新大学生を見ています
ที่เริ่มเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยในเดือนเมษายน/4月に大学に入学する
ซึ่งเป็นช่วงเริ่มปีการศึกษาของญี่ปุ่น/日本で新学年度が始まる
ดังนี้ค่ะ/次のように(*上の「見ている」にかかる)
ศาตราจารย์ Hirano กล่าวว่า/平野教授によると
บรรดานักศึกษาใหม่นั้นดูเหมือนว่าจะเป็นผู้ที่ได้รับการเลี้ยงดูมาอย่างดีทีเดียว/一見すると新大学生たちは非常に恵まれた環境の中で育てられてきており
อัตราการเกิดที่ลดลงในญี่ปุ่นได้ทำให้เกิดภาวะ/日本では出生率が低下していることから状況になっています
ที่พวกเขาเกือบทั้งหมดเป็นลูกคนเดียว/ほとんどの大学生が一人っ子か
หรือมีพี่น้องร่วมท้องเพียงหนึ่งคนเท่านั้น/あるいは2人兄弟であるという(状況)
ซึ่งทำให้พวกเขาได้รับการเลี้ยงดูอย่างทะนุถนอม/そのため彼らは家庭で大切に育てられてきました
แต่ในขณะเดียวกันก็อาจพูดตรงๆ ในแง่ลบได้ว่า/しかしながら一方で、そのマイナス面を指摘するとすれば
สิ่งนี้พลอยทำให้พวกเขาไม่สู้มีความสามารถในการแข่งกันไปด้วย/こうした養育環境が彼らを闘争心や競争心のない人間にしているともいえます
เมื่อเราลองเปรียบเทียบนักศึกษาญี่ปุ่นกับนักศึกษาในสหรัฐแล้ว/日本の学生とアメリカの学生を比べてみた場合
ศาตราจารย์ Hirano พบว่า/平野教授は注目しました
ที่สหรัฐนั้นนักศึกษาจะต้องลงเรียนวิชาในสาขาต่างๆ อย่างกว้างขวาง/アメリカでは学生が多岐にわたる学科の科目を履修しなければならず
ในระยะเวลาสี่ปีเต็มของการเรียนระดับปริญญาตรี/学部生として学ぶ丸4年間の間に
พวกเขาจะมีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง/彼らがその専門性を身に付けるのは
ก็ต่อเมื่อเข้าเป็นนักศึกษาปริญญาโทในบัณฑิตวิทยาลัยเท่านั้น/大学院の修士課程に入ってからであることに
ซึ่งนี่เป็นความแตกต่างอย่างชัดเจน/これが大きな違いなのです
ระหว่างปริญญาใบแรกและใบที่สองค่ะ/学部生と大学院生の
ส่วนวิชาที่นักศึกษาในสหรัฐต้องการลงเรียนมากที่สุดนั้น/一方、アメリカの学生の中で最も履修希望の多い科目については
ศาตราจารย์ Hirano เห็นว่า/平野教授は見ています
วิทยาการคอมพิวเตอร์เป็นสาขาวิชาที่ได้รับความนิยมอย่างมากที่สุดในปัจจุบัน/現在はコンピュータ科学が最も人気のある学科であると
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแถบ West Coast/とりわけ西海岸ではその傾向が強く
ศาตราจารย์ Hirano มีเพื่อนที่ทำงานในนครชิคาโก/シカゴで働く平野教授の知人は
ซึ่งเขามีลูกชายเข้าเรียนด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์/息子がコンピュータ学部に入学しています
ที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียวิทยาเขตเบิร์กลี่ย์เมื่อปีที่แล้ว/昨年カリフォルニア大学バークレー校の
และสิ่งที่น่าประหลาดใจที่สุด/また、何にも増して意外なのが
ก็คือร้อยชะเก้าสิบของคนที่ลงเรียนสาขาวิชานั้นเป็นนักศึกษาต่างชาติค่ะ/この学科を履修した学生の90%が外国人学生であることです
นักศึกษาต่างชาติกลุ่มนี้ส่วนใหญ่มาจากจีนและอินเดีย/これら外国人学生の多くは中国やインドの学生で
ซึ่งศาตราจารย์ Hirano เห็นว่า/平野教授は見ています
พวกเขาตั้งใจอย่างจริงจัง/必死に取り組んでいると
ที่จะจับกระแสแห่งอนาคตของสังคมให้ทัน/社会における未来の潮流に乗り遅れまいと
โดยตัดสินใจเลือกสาขาวิชาเรียนตามแนวโน้มของอนาคตค่ะ/将来性を見込んで学科を選択することで
ซึ่งสิ่งนี้ศาตราจารย์ Hirano มองว่า/平野教授は見ています
ค่อนข้างแตกต่างจากนักศึกษาที่ญี่ปุ่น/これは日本の学生とは大きく異なる点であると
ซึ่งคิดหวังเพียงแต่จะได้งานกับบริษัทที่มีชื่อเสียง/有名企業で働くことしか頭になく
โดยไม่สนใจว่าตนเองจะต้องการความรู้ความสามารถเฉพาะทางในด้านใด/自身にはどの分野の専門性が必要かということには関心がない
ศาตราจารย์ Hirano เห็นว่า/平野教授は見ています
นี่เป็นความแตกต่างอย่างมากข้อหนึ่ง/これはもっとも大きな違いの一つであると
ระหว่างนักศึกษาในญี่ปุ่นกับนักศึกษาในสหรัฐค่ะ/日本の学生とアメリカの学生との
ส่วนสิ่งอื่นๆ ที่ศาตราจารย์ Hirano ได้เห็นระหว่างการไปเยือนสหรัฐว่า/その外に平野教授が訪米中に感じた
เป็นความแตกต่างระหว่างนักศึกษาในสองประเทศ/両国の学生の違いは
ก็มีอีกสองอย่างค่ะ/あと2つあります
ได้แก่ การวิ่งออกกำลังกายและโทรศัพท์มือถือค่ะ/それはジョギングと携帯電話です
ศาตราจารย์ Hirano ได้ไปเยือนบอสตัน/平野教授はボストンを訪ねました
ซึ่งเป็นเมืองมหาวิทยาลัยอย่างแท้จริง/正真正銘の大学都市である
เพราะมีมหาวิทยาลัยทั้งขนาดเล็กและใหญ่มากกว่าห้าสิบแห่ง/大小合わせて50を超える大学を有する
และกล่าวว่า/そして述べています
สิ่งแรกที่เราจะได้เห็นที่นี่/まずここで最初に目につくのが
ก็คือบรรดานักศึกษาพากันวิ่งออกกำลังกาย/学生たちがこぞってジョギングをしていることで
ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ค่อยพบเห็นกันในญี่ปุ่นค่ะ/これは日本ではあまり見られない光景です
ว่ากันว่านักศึกษาที่เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยของสหรัฐนั้น/ところで、アメリカの大学に入学した学生は
จะต้องอ่านหนังสืออย่างหนัก/相当な量の本を読まなければならないと言われており
โดยเฉลี่ยถึงราวสี่ร้อยหน้าต่อวันทีเดียว/平均するとその読書量は1日400ページにもなります
ซึ่งก็หมายถึงว่า/これはつまり
การเรียนรู้ในมหาวิทยาลัยของพวกเขา/彼らにとって大学での勉強とは
ก็คือการต่อสู้กับความอึดของร่างกายนั่นเอง/肉体的な忍耐を強いられることに他ならないのです
ดังนั้นการวิ่งออกกำลังกายจึงเป็นหนทางหนึ่ง/したがって、ジョギングは手段なのです
ที่จะทำให้ได้พลังกายนั้นมาค่ะ/その体力を身に付けるための
และที่จบลงไปนั้นคือเจาะประเด็นวันนี่ค่ะ/ここまでが本日の「核心に迫る」でした